วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุทธ ที่ 14 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2561




ความรู้ที่ได้รับ


ทฤษฎีทางสติปัญญาเพียเจต์
ได้แบ่งความรู้ทางคณิตศาสตร์ ตามพัฒนาการเด็กปฐมวัย  2 ด้าน คือ

  • ความรู้ทางด้านกายภาพ
  • ความรุ้ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์
เพียเจต์  
  • เด็กมีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • เด้กได้มีการถ่ายทอดทางสังคม
ธอร์นไดร์
  • เด็กเรียนรู้รูปนาม
  • นามธรรม
  • สัญลักษณ์ 
ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  1. การนับ  →   การนับจำนวนกระเป่านักเรียนที่อยู่ในห้อง  การนับอุปกรณที่ใช้การรับประทานอาหาร
  2. ตัวเลข →   การบอกวันที่   การบอกเวลา
  3. การจับคู่ → การจับคู่ของที่ต้องใช้คุ่กัน เช่น ช้อน - ส้อม   จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
  4. การจัดประเภท → การจัดประเภทสัตว์บก-สัตว์น้ำ จัดประเภท ผัก- ผลไม้
  5. การเปรียบเทียบ → การเปรียบเทียบขนาดของสีไม้  ดินสอ ไม้บรรทัด
  6. การจัดลำดับ →  ตอนเข้าแถว การเรียงลำดับ คนตัวเล้ก ไปหาคนตัวสูง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ →  รูปทรงของแก้วน้ำ รูปทรงของกระเป๋านักเรียน หรือ เนื้อที่ของห้องเรียน
  8. การวัด →  การวัดความสูงของเพื่อนๆในชั้นเรียนโดยใช้ เครื่องวัดความสุูง
  9. เซต →   สิ่งที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นอุปกรณ์ในการกินข้าว  ช้อน-ส้อม-แก้วน้ำ 1 เซต หรือ แปรงสีฟัน - ยาสีฟัน 1 เซต
  10. เศษส่วน  →  งานพับกระดาษสร้างสรรค์เป็นรูปต่างๆ เป็นการแบ่งจำนวนเต็มของกระดาษเป็นส่วนต่างๆทั้งที่เท่ากันและไม่เท่ากัน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย →  การวาดรุปตามภาพที่กำหนดให้ การตัดกระดาาหรือฉีกกระดาาตามลดลายที่กำหนดให้
  12. การอนุรักษ์หรือคงที่ปริมาณ → ให้เด็กได้ลงมือปฏบัติจริง เช่น การเทน้ำลงในแก้ว4ใบ ปริมาณน้ำเท่ากันแต่ขนาดของก้วนั้นต่างกัน แต่เมื่อนำมาเทใส่ในเหยือก 3 ใบ ให้เด็กสังเกตว่ายังมีน้ำเท่าเดิมหรือไม่ 




หลักการพัฒนาความสมารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากสอนแบบรูปธรรม คือ
     1.1ขั้นใช้ของจริง    ผลไม้  ดินสอ   ช้อน  ลูกปัด   สูกบอล
     1.2ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
    1.3ขั้นกึ่งรูปภาพ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด สัญลักษณ์ป้ายจราจร
    1.4 ขั้นนามธรรม เครื่องหมายบวก ลบ
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
- การนับสีไม้ในกล่อง
-การนับอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร
-การนับจำนวนกระเป๋านักเรียน
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
- การเรียนรู้จากเปรียบเทียบสิ่งที่เด็กชอบกิน
-การแจกกระดาษ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
-การชื้อของ
--การตั้งแถว
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย 
-เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข
เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ
การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ
-แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
-ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
-ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก  แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย

7.จัดกิจกรรมทบทวน  โดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดช้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผลข้อเท็จจริง



การประเมินผล

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน  ตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อธิบายได้เข้าใจในเนื้อหา สอนสนุกสนาน

วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 9  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2540
ความรู้ท่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอบทความ   
เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว 
  • รู้จักการแก้ไขปัญหา  
  • การเรียนการสอนต้องไม่เครียด 
  • เห็นความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์  ที่บ้าน ที่โรงเรียน  ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมตัวอย่าง
  • ให้เด็กนับของที่ต้องใช้ในการรับประทานอาหาร
  • การเปรียบเทียบจำนวนชาย - หญิง ในห้องเรียน ว่าใครมีมากกว่ากัน



วิจัย  การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


เพื่อนได้ออกมานำเสนองานวิจัย โดยได้อธิบายได้ โด้วิจัยนี้รูปแบบการสอนมี6 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ 
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน 
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน 
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอ 
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
     อาจารย์ได้บอกถึงวิธีการนำเสนอในครั้งต่อไป บอกถึงวิธีการนำเสนอที่ถูกต้องและน่าสนใจมากขึ้น จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษใหคนล่ะ 1 แผ่น


วิธีการสอนคณิตศาตร์ให้กับเด็ก โดยเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว เรียนรู้ถึงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ 
กระดาษนั้นมีจำนวนที่ มากกว่า คนอยู่ 4 แผ่น
  1. กระดาษ > คน  = 4 แผ่น
  2. 21          > 17  =  4 แผ่น
  3. 21  - 17 = 4




    การสอนคณิตศาสตร์โดยดูจากเด็กที่ชอบกินส้มตำกับลาบไก่ ผลออกมาว่าเด็กที่ชอบกินส้มตำนั้นมีจำนวนที่มากกว่า ลาภไก่  เราใช้วิธีโดยการแบบจับคู่ 1:1 เเป็นแผนภูมิเหมือนกับในวิธีที่แจกกระดาษ
อาจารย์ได้ให้นักศึกษคิดว่า
  1. คณิตศาสตร์เกิดขึ้นทุกหนแห่ง
  2. คณิตศาสตร์เมื่อไรบ้าง

  กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้สอน การใช้สัญลักษณ์ในการแทนจังหวะปรบมือ การตบมือให้ตรงจังหวะกับเพลงและทำให้เราเรียนรู้ถึงจังหวะการเพิ่มท่าทางในจังหวะแลพร้องเพลงเด็กปฐมวัย



การประเมินผล


ประเมินตนเอง:   ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมแสดงความคิดเห็น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเป็นอย่างดี สอนสนุก ฝึกให้นักศึกษาใช้ความคิด